วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี 3G คืออะไร
        3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า ต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องบริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) ” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้ ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาทีในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาทีทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาทีจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
เทคโนโลยี 4G คืออะไร
4G คือเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายผ่านอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ (โทรศัพท์มือถือและแทบเล็ต) ในยุคที่ 4 หรือ 4th Generation Mobile Communications อาจจะเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า LTE (Long Term Evolution) แต่เดิมได้ถูกวางไว้เป็นระบบ 3.9G แต่ต่อมาได้ถูกพัฒนาความเร็วการเชื่อมต่อให้มากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ 4G นั่นเอง
จุดกำเนิดของระบบ 4G
          ระบบ 4G ถูกกำหนดมาตรฐานขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2008 โดย International Telecommunications Union-Radio communications sector (ITU-R) โดยเรียกข้อกำหนดนี้ว่า The International Mobile Telecommunications Advanced specification (IMT-Advanced) ซึ่งได้กำหนดความเร็วของระบบ 4G ไว้ที่ 1Gbps แต่ด้วยขีดจำกัดทางด้านเทคโนโลยีและความพร้อมของผู้ให้บริการ จึงทำให้ระบบ 4G ในปัจจุบัน (ซึ่งถือว่าเป็นยุคเริ่มต้น) ทั้ง 2 ระบบคือทั้งแบบ WiMAX และ LTE ยังไม่สามารถทำความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงตามข้อกำหนด IMT-Advanced โดยทำได้เพียง 100-120 Mbps เท่านั้น แต่คาดว่าเมื่อ WiMAX Release 2 ถูกประกาศใช้ จะสามารถทำความเร็วได้ตามข้อกำหนดข้างต้น โดยอาจจะมีชื่อเรียกว่าระบบ 5G

ความเร็วของระบบ 4Gตามที่ได้กล่าวข้างต้น ระบบ 4G ตามมาตรฐาน IMT-Advanced จะต้องสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ระดับ 1 Gbps แต่ปรากฏว่าเทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ ดังนั้นการให้บริการระบบ 4G ในปัจจุบันจึงให้บริการที่ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดที่ 100 Mbps และอัพโหลดที่ระดับความเร็ว 50 Mbps เป็นหลัก
 
3G และ 4G เทคโนโลยีใหม่มาแรง

      เมื่อก่อนเราใช้โทรศัพท์เป็นโทรศัพท์ คือใช้โทรได้อย่างเดียว นั้นเรียกว่ายุค 1G พอยุค 2G โทรศัพท์ก็สามารถถ่ายรูปได้ ส่งข้อความได้ ส่งอีเมล์ได้ แต่ยังติดขัดอยู่ในเรื่องของสัญญาณติดๆ ขัดๆ เวลาเคลื่อนไหว ส่วน 3G จริงๆ แล้วก็คือระบบโทรศัพท์ที่พัฒนาอีกขั้นหนึ่งให้มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา ในเรื่องของข้อมูล เฉพาะฉะนั้นในด้านการเชื่อมต่อข้อมูลจะดีกว่า อีกทั้งยังไม่ได้คิดราคาตามเวลาการใช้ แต่จะคิดตามอัตราการโหลดข้อมูล และมีความเร็วในการใช้งานที่มากขึ้น เพราะฉะนั้นโทรศัพท์ในยุค 3G จึงไม่ใช่แค่เพียงโทรศัพท์อีกต่อไป 3G ทำให้การพูดคุยสามารถเห็นหน้ากันได้ หรือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของซอฟท์แวร์ก็จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในโทรศัพท์ ก็คืออีกสักหน่อยโทรศัพท์อาจจะส่งสัญญาณให้ควบคุมสิ่งของที่บ้าน เช่น ส่งให้เปิดปิดตู้เย็น เปิดปิดหม้อหุงข้าว เป็นต้น หรือข้อมูลอะไรต่างๆ ที่มีพื้นที่การเก็บข้อมูลมากๆ 3G ก็จะให้ประโยชน์เหล่านี้นั้นเอง อย่างเช่น แผนที่เราก็สามารถดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เนตเข้ามาที่โทรศัพท์โดยผ่านระบบ 3G นี้ได้เลย  





4 G เทคโนโลยีใหม่
 
       คำว่า 3G ในเรื่องของโทรศัพท์ก็คือมาตรฐานการพัฒนาซึ่งแบ่งเป็นยุคๆ ตั้งแต่ยุค 1G ที่โทรศัพท์เป็นแบบเซลลูล่าอันใหญ่ๆ ใช้สัญญาณอนาลอก หรือสัญญาณคลื่นวิทยุซึ่งเกิดในปี 1981 ยุคต่อมาคือ 2G เริ่มในปี 1992 โดยใช้ระบบดิจิตอล คือการนำสัญญาณเสียงมาบีบอัดให้เล็กลงจนเป็นสัญญาณอิเล็กโทรนิค ต่อมาในปี 2001 ก็เริ่มมีการใช้โทรศัพท์ 3G ที่ญี่ปุ่นเป็นที่แรกที่นำระบบ 3G เข้ามาใช้จนถึงทุกวันนี้ จุดเด่นของ 3G คือรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ส่วนจุดอ่อนของ 3G คือ การเปลี่ยนจาก 2G ปัจจุบันในประเทศไทยเรานั้นน่าจะเรียกว่าระบบ 2.9G คือจากระบบ 2G เป็น 2.5G จนมาเป็น 2.9G เช่น สามารถถ่ายภาพแล้วก็อัฟเดตขึ้น Facebook ได้เลย แต่ก็ยังต้องคอยอยู่ดี แต่ถ้าเป็น 3G แล้วก็จะเร็วขึ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นก็เลยถือว่ามันไม่ได้ตอบสนองโจทย์ทั้งหมด เพราะถ้าจะพัฒนาระบบทั้งหมดให้เป็น 3G ต้องใช้งบลงทุนมากมายมหาศาล แต่สิ่งที่ได้มาบางทีอาจจะไม่คุ้มกับการใช้งานจริง ในส่วนของประเทศที่ใช้ 3G มานานแล้วเขามองว่าจะเปลี่ยนเป็นระบบ 4G กันแล้ว 4G เป็นเหมือนการสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ 10 ปี

    4G มีลักษณะแตกต่างจาก 3G คือ ในเรื่องของการเชื่อมต่อแบบเคลื่อนไหวไร้รอยต่อ 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบใหม่นี้จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติ การเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว

     สำหรับ 4G จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที นอกจากนี้ การพัฒนาต่างๆ ที่ ระบบ 3G รองรับ ระบบ 4G ก็จะรองรับในเวอร์ชั่นที่สูงกว่า อย่างเช่น การใช้งานมัลติมีเดียที่ดีขึ้น การรับส่งข้อมูลในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวที่ไหลลื่นกว่า การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นสากลและความสามารถในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ รูปแบบต่างๆ ได้ ผู้ที่อยู่ในแวดวงการอุตสาหกรรมต่างยังลังเลที่จะคาดการณ์ ทิศทางที่เทคโนโลยีในอนาคตอันใกล้จะเป็นไป แต่ก็คาดว่าการพัฒนาของ ระบบ 4G ได้รวมเอาความสามารถในการค้นหาสัญญาณเครือข่ายได้ทั่วโลกเข้าไว้ ด้วย ระบบ 4G อาจจะเชื่อมต่อโลกทั้งใบและสามารถกระทำได้ในทุกที่ไม่ว่าจะอยู่บนหรือแม้จะอยู่เหนือพื้นผิวของโลกได้อย่างแท้จริง



 นวัตกรรม 3G และ 4G

      3G มาไม่ทันไร 4G ก็ออกมาอีกแล้ว แต่มีเทคโนโลยีหนึ่งที่ไม่เคยเก่าและไม่เคยตกรุ่นเลย อีกทั้งยังเป็นสุดยอดเทคโนโลยี สุดยอดนวัตกรรม จะกี่หมื่นกี่แสนล้านปีก็ยังใหม่อยู่เสมอ หรือจะต่อไปในอีกแสนล้านปี ก็รับประกันได้ว่ายังใหม่เสมอ นั่นก็คือ ตัวของเรานี่แหละ ซึ่งประกอบด้วย กายกับใจ นี่คือสุดยอดนวัตกรรมสุดยอดของโลกที่จะหาใดมาเปรียบ ไม่ว่าเทคโนโลยีใดก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ เพราะการบรรลุธรรมนั้นต้องอาศัยกายมนุษย์เท่านั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ต้องมาเกิดบนโลกได้กายมนุษย์ แล้วบำเพ็ญเพียรจึงจะบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เทคโนโลยี 3G หรือ 4G นั้นแม้จะมีความเร็วมากมายเพียงใด ก็เป็นเพียงความเร็วในการส่งข้อมูล เช่น ดาวน์โหลดหนังเรื่องหนึ่งในเวลาเพียงแค่ไม่กี่นาที แล้วเราต้องใช้เวลาเท่าไหร่ในการนั่งดูหนังเรื่องนั้น 3G หรือ 4G เป็นพียงเทคโนโลยีที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล แต่ไม่เคยมีใครเอ่ยถึงความเร็วในการรับรู้ข้อมูล  เช่น เราโหลดหนังเรื่องหนึ่งใช้เวลา 2 นาที แต่เราต้องใช้เวลาในการดูถึง 2 ชั่วโมง จะทำให้การดูเร็วขึ้นโดยการเพิ่มความเร็วก็ไม่ได้ เดี่ยวตาลาย งงเอา  แต่ถ้าเป็นเทคโนโลยีทางใจแล้วล่ะก็จะข้ามพ้นขีดจำกัดตรงนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นอกาลิโก คำว่าอกาลิโก มีความหมาย 2 นัยคือ นัยแรก หมายถึง ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต้องบอกว่าไร้ขีดจำกัด ยกตัวอย่างเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระลึกชาติได้ไม่มีที่สิ้นสุด แว๊บเดียวก็สามารถระลึกได้ไม่รู้กี่พันชาติ อีกทั้งการรับส่งข้อมูลและการรับรู้ข้อมูลประสานเป็นเนื้อเดียวกัน 3G หรือ 4G ทำอย่างนี้ได้รึเปล่า อีกนัยหนึ่งคือว่า สามารถรับรู้ได้ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต  ซึ่งด้านนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดสามารถทำได้เลย นี่แหละอกาลิโก

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยี 3G นั้นเรามักจะคุ้นเคยในแง่การใช้งานด้าน Wireless Broadband, Video Call หรือการ download บรรดา content ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แต่นั่นเป็นเพียงแค่มุมมองในแง่ของการใช้งานด้านหนึ่ง ซึ่งเทคโนโลยี 3G สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงลึก ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษา สาธารณสุข ธุรกิจ การดำเนินชีวิต การพัฒนาบุคคลากร การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงแหล่งความรู้ ด้านของเศรษฐกิจ การพัฒนาประเทศ อื่นๆ รวมทั้งประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่างๆมากมายเช่น
ประหยัดทรัพยากรณ์ธรรมชาติ เพราะใช้สื่ออิเล็คโทรนิคแทนกระดาษ (ด้วยความเร็วของ 3G) สามารถรับรู้ข่าวสารได้ ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยการเชื่อมต่อ 3Gสร้างความใกล้ชิดระหว่างบุคคลมากขึ้น โดยเฉพาะครอบครัว ด้วยการสนทนาแบบเห็นหน้าการติดต่อสื่อสารแบบเห็นหน้า ยังมีประโยชน์ในด้านของการระบุตัวตน ลดปัญหาอาชญากร หลอกลวง ปลอมตัวโทรศัพท์หลอกลวงต่างๆเราสามารถเห็นหน้าตา บุคคลิก สถานที่ ที่คนๆนั้นติดต่อมา เช่นกรณีมิจฉาชีพอ้างว่าโทรจาก เทคโนโลยี3G สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ลดภาวะโลกร้อนลดการเดินทางโดยไม่จำเป็น เป็นการส่งข้อมูลผ่านทาง เครือข่าย 3G แทน
ทำให้กระบวนการต่างๆ เร็วขึ้น
1.ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ ประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์
           








ความแตกต่างระหว่างข้อมูลกับสารสนเทศ
           หากมองโดยผิวเผิน อาจจะทำให้เข้าใจรวมความว่า  "ข้อมูล และสารสนเทศ"  เป็นสิ่งเดียวกัน  และการเข้าใจเช่นนี้อาจทำให้ผู้ที่ทำการศึกษาการพัฒนาระบบอยู่นั้นมองข้ามความสำคัญตรงส่วนนี้ไป ส่งผลให้เกิดสารสนเทศที่ไม่ตรงต่อความต้องการได้ ดังนั้นจึงขออธิบายถึงความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศดังนี้
          ข้อมูล (Data)   
          ข้อมูล คือ เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นประจำวันในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เช่น รายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า รายการส่งสินค้า ชื่อที่อยู่ลูกค้า ยอดขายในแต่ละวัน เป็นต้น ข้อมูลอาจเป็นได้หลายชนิด เช่น ตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ รูปถ่าย หรือแม้กระทั่งเสียง
          สารสนเทศ (Information)
          สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
          สารสนเทศที่ดี จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น และช่วยให้การประมาณการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือยอดขายใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้มากที่สุด


องค์ประกอบของเทคโนโลยีสาระสนเทศ
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ
1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์
2. ซอฟต์แวร์
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น