วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดบทที่ 8-9 ข้อ 2-3

ข้อ 2.
1. การวางแผนกลยุทธ์เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานพัฒนาตนเองได้ทันกับสภาพการ เปลี ่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม เพราะการวางแผนกลยุทธ์ให้ความสำคัฐกับการศึกษาวิเคราะห์บริบทและ สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานเป็นประเด็นสำคัญ
2. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐในทุกระดับ มีความเป็นตัวเองมาก ขึ้น รับผิดชอบต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเองมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะการวางแผนกลยุทธ์เป็นการวางแผน ขององค์การ โดยองค์การและเพื่อองค์การไม่ใช่เเป็นการวางแผนที่ต้องกระทำตามที่หน่วยเหนือสั่งการ
3. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่สอดรับกับการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นกระแสหลักในการ บริหารภาครัฐในปัจจุบัน และสอดคล้องกับที ่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้เตรียมออกระเบียบ กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐทุกระดับมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนางานสู่มิติใหม่ของการปฏิรูป ระบบราชการ
            4. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการจัดทำระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Base Budgeting) ซึ่งสำนักงบประมาณกำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัด จัดทำก่อนที ่จะกระจายอำนาจ ด้านงบประมาณโดยการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินก้อนลงไปให้หน่วยงาน
           5. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนที่ให้ความสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์ที่ได้มาจากการคิด วิเคราะห์แบบใหม่ ๆ ที่ไม่ผูกติดอยู่กับปัญหาเก่าในอดีตไม่เอาข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร และงบประมาณมาเป็น ข้ออ้าง ดังนั้น การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนแบบท้าทายความสามารถ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้เกิด การริเริ่มสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นการวางแผนพัฒนาที่ยั่งยืน

ข้อ 3.
หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
1)  คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
2)  เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมีขั้นตอนดังนี้
     -  ศึกษาทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น
                     -  รวบรวมและกำหนดความต้องการ
     -  หาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด
     -  ออกแบบและทำการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก
     -  สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ และปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
3)  กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
4)  กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
5)  ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
6)  เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา
7)  แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
8)  ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต

 ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ 
การกำหนดและเลือกโครงการ (System Identification and Selection)
          -  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning)
การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
การออกแบบระบบ (System Design)
          -  การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)
การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)

การพัฒนาระบบมีรูปแบบต่างๆ
1.  การพัฒนาระบบแบบน้ำตก (Waterfall Model) แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อได้ทำขั้นตอนก่อนหน้านี้เสร็จเรียบร้อยและจะไม่ย้อนกลับไปทำขั้นตอนก่อนหน้านี้อีก
          2.  การพัฒนาระบบแบบน้ำตกที่ย้อนกลับขั้นตอนได้ (Adapted Waterfall ) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่หากดำเนินการในขั้นตอนใดอยู่สามารถย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ   
          เพื่อต้องการความชัดเจน
3. การพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีการทำซ้ำบางขั้นตอนจนกว่าขั้นตอนต่างๆ ของระบบที่สร้างจะได้รับการยอมรับ
4. การพัฒนาระบบในรูปแบบขดลวด (Evolutionary Model SDLC)  เป็นการพัฒนาระบบแบบวนรอบเพื่อให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็วโดยการพัฒนาระบบจะเริ่มจากแกนกลาง ในรอบแรกของการพัฒนาจะได้  ระบบรุ่น(Version) แรกออกมาและจะปรับปรุงให้ดีขึ้นในรุ่นที่สอง และดำเนินการแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้รุ่นที่สมบูรณ์ 
ที่มา : http://www.bkkthon.ac.th/userfiles/file/pro_b.pdf
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น